วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้

 สัปดาห์ที่ 1 10 / 08 / 2563 



ในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียนนี้ อาจารย์มีธุระ จึงได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคน สร้างบล็อคของรายวิชานี้ โดยหาองค์ประกอบให้พร้อม คือ วิจัย 5 บทของมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องการสอนหรือรูปแบบวิธีการสอนก็ได้ และให้หา บทความ ตัวอย่างการสอนที่มีหน่วยงานรองรับ โดยแต่ละงานนั้นต้องไม่ซ้ำกันกับเพื่อน ซึ่งดิฉันก็ได้สืบค้นมาและสรุปได้ดังนี้

สรุปงานวิจัย ผลของการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
นางสาวธัญวรัตน์ โหสุภา
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2559
    เป็นการศึกษาผลของการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลใน 2 ด้าน ได้แก่การเชื่อมโยงคำศัพท์ภาษอังกฤษกับรูปภาพหรือวัตถุสิ่งของได้แก่การฟังและการพูด ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการ สอนแบบเน้นงานปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้ง 2 ด้าน สูงกว่ากลุ่ม ควบคุมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติช่วยส่งเสริมความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กให้พัฒนาดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับ Willis (1996) กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสำหรับเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่อันเนื่องมาจากเด็กวัยนี้มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพยายามที่เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ จนนำมาสู่การพัฒนาหลักการ และขั้นตอนการสอนภาษาต่างประเทศให้สามารถนำมาสอนเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่เด็กเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จำลองต่างๆ จัดกระทำกับวัตถุและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกการใช้ภาษา ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจซึ่งเป็นไปตามพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยนี้ที่ต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศผ่านการลงมือทำและการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบ ๆ ตัว ซึ่งทำให้เด็กเรียนรู้ด้วยความเข้าใจมากกว่าการจดจำกฎเกณฑ์ การบอกของครู หรือแม้กระทั่งการอธิบายด้วยคำพูด ดังนั้นการจัดประสบการณ์ทางภาษาที่ดีควรสนับสนุนให้เด็กได้เกิดการใช้ภาษาในการทำกิจกรรม เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข ความเข้าใจทางภาษาที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ดังนั้นแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติจึงเป็นแนวการสอนภาษาต่างประเทศที่มุ่งเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมทางภาษาที่สนุกสนาน การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นกันเอง

สรุปบทความ 6 กลวิธีสำหรับครูปฐมวัยแห่งศตวรรษที่ 21 โดย ทรูปลูกปัญญา
     1. รู้จักใช้เทคโนโลยีแบบบูรณาการ

          เด็กในยุคสมัยนี้อยู่ท่ามกลางการใช้เทคโนโลยีและสังคมออนไลน์ เด็กหลายคนสามารถเข้าใจการทำงานของเทคโนโลยีได้มากกว่าผู้ใหญ่แบบเราๆเสียอีก ในการปฏิสัมพันธ์กับเด็กกลุ่มนี้ ครูจำเป็นที่ต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ในการเชื่อมโยงเด็กเหล่านี้ และบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับพวกเขา เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียนและเสริมสร้างทักษะทางในการใช้เทคโนโลยีให้กับพวกเขา เพื่อให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

          2. สร้างโครงสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

          การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ควรเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ครูที่มีประสิทธิภาพจะเน้นการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ และปรับบทบาทของตัวครูเองจากที่เป็นผู้สอน มาเป็นผู้แนะนำมากขึ้น การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในห้องเรียน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการเรียนรู้ และมุ่งให้นักเรียนเกิดองค์ความได้ด้วยตัวเองอีกด้วย

          3. สร้างสรรค์การสอนที่แตกต่าง

          ครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ต้องสามารถปรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนที่แตกต่างกันในห้องเรียนได้ โดยผ่านการเรียนรู้ในสามรูปแบบหลัก คือ จากการมองเห็น การได้ยิน และการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กนี้จะอธิบายลักษณะของเด็กและประเภทของกิจกรรมที่ตอบสนองต่อการพัฒนาที่ดีของเขา การให้เด็กได้มีโอกาสเลือกทำกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจจะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          4. ตั้งค่าเป้าหมาย

          การมีส่วนร่วมของเด็กในกระบวนการกำหนดเป้าหมายเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสนับสนุนให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ ซึ่งในระยะแรกการตั้งเป้าหมายจะต้องทำอย่างชัดเจนและเรียบง่าย ยกตัวอย่างเช่นการตกลงกับเด็ก ๆ เกี่ยวกับเป้าหมายของพวกเขา ครูสามารถอำนวยความสะดวกในการกำหนดเป้าหมายเพิ่มเติมผ่านการใช้ตัวช่วย เช่นสมุดบันทึก แผนภูมิและเครื่องมือต่างๆ ที่ทำให้เด็กเห็นถึงการก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กรู้สึกอยากบรรลุเป้าหมายนั้นและได้ทบทวนตัวเองด้วย

          5. การสอนข้ามหลักสูตร

          ตรงกันข้ามกับการสอนแบบดั้งเดิมที่แต่ละวิชาแยกจากกัน การสอนสมัยใหม่ต้องสามารถบูรณาการการเรียนรู้หลายวิชาพร้อมกันได้ ซึ่งการทำเช่นนี้สามารถช่วยให้เด็กปฐมวัย เรียนลึกลงไปในแนวคิดและทักษะการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถผสมผสานเนื้อหาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์หรือสังคมศึกษาเข้ากับการอ่านหรือการเขียนได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการสอนแบบนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ซึ่งเราอาจจะต้องกิจกรรมรูปแบบนี้ โดยการให้เด็กทำโครงงานเกี่ยวข้องกับพวกเขา เพราะการทำโครงงานมีผลลัพธ์เป็นรูปธรรม การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นตัวตั้งคือแนวทางการพัฒนาวิธีแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความจริง ในการเรียนรู้แบบสืบเสาะนั้นเด็ก ๆ จะตั้งคำถามของตนเองตามความสนใจหรือความสนใจของพวกเขา วิธีการเหล่านี้ทำงานได้ดีเพราะครูไม่เพียง แต่บอกนักเรียนว่าพวกเขาควรรู้อะไร แต่พวกเขาให้เด็กมีส่วนร่วมในการสำรวจและเปิดเผยข้อมูลด้วยวิธีที่มีความหมายมากขึ้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้ไม่เพียง แต่สนุก แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ และกระตุ้นให้เกิดการร่วมมือกันอีกด้วย

          6. การประเมินเพื่อการเรียนรู้

          การประเมินหลังจัดการเรียนรู้ หรือการประเมินระหว่างการเรียนรู้ เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลที่ครูสามารถใช้ในการปรับปรุงแผนการสอนและรูปแบบการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กได้ การประเมินผลปลายทางเพียงอย่างเดียว นอกจากจะไม่ได้ให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กรู้แล้ว ยังเป็นการรวบรวมข้อมูลที่สายเกินไป เพื่อป้องกันปัญหานี้ครูสามารถติดตามผลการเรียนรู้ของเด็ก โดยใช้การสังเกต การตั้งคำถาม กลวิธีการอภิปรายในชั้นเรียน การบันทึกการเรียนรู้ การประเมินจากเพื่อน การประเมินตนเองและการประเมินในแบบอื่นๆที่สอดคล้องกับเด็ก การประเมินผลอย่างต่อเนื่องเหล่านี้จะช่วยให้ครูสามารถจับจังหวะการเรียนรู้ในห้องเรียนเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนกำลังเรียนรู้อย่างเหมาะสม

 ที่มา http://www.trueplookpanya.com/blog/content/74205/-teaarttea-teaart-teamet-

สรุปตัวอย่างวิธีการสอน เทคนิคการสอนเด็กสมาธิสั้น-เทคนิค Word group

    Word group เป็นเทคนิคการสอนสำหรับเด็กสมาธิสั้นที่มีปัญหาการอ่านคำเป็นเทคนิคที่จัดหมวดคำที่เป็นหมวดหมู่เดียวกันไว้ด้วยกัน โดยการใช้หลักการเชื่อมโยงภาพไปหาคำ การเรียนรู้วิธีนี้จะช่วยให้เด็กสามารถจำและอ่านคำได้เพื่อนำไปสู่การสอนอ่านโดยวิธีปกติต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น