วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้

 สัปดาห์ที่ 2 17 / 08 / 2563


เริ่มต้นด้วยการที่อาจารย์ให้นั่งแยกเป็นโรงเรียนที่ได้ออกสังเกตการสอน สอบถามความรู้เดิมเกี่ยวกับรูปแบบหรือนวัตกรรมการจัดการว่ามีอะไรบ้างและมีจุดเด่นคืออะไร ดิฉันก็ได้นำมาสรุปได้ดังนี้

รูปแบบการจัดการเรียนสอนแบบภาษาธรรมชาติ
      การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวมทั้งด้านการฟัง การพูดการอ่าน และการเขียน ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก

            การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น



รูปแบบการสอนแบบมอนเตสเซอรี่

การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็ก จึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียน ที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน

รูปแบบการจัดการเรียนสอนแบบวอร์ดอฟ



การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ

( Waldorf  Method)

                     การศึกษาปฐมวัย  เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็กปฐมวัย  ลักษณะของการจัดการศึกษาเน้นการดูแลควบคู่ไปกับการให้การศึกษา  รูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบมีจุดเด่นเฉพาะของรูปแบบที่ครูสามารถเลือกใช้หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนของตน จุดสำคัญของการใช้รูปแบบอยู่ที่ครูเข้าใจมโนทัศน์ของรูปแบบ  แนวคิดพื้นฐาน  หลักการสอนวิธีจัดการเรียนการสอนการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บทบาทครู 

แนวคิดพื้นฐาน

                การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด  ความรู้สึก  และเจตจำนงของคน ๆ นั้น  หากเด็กได้อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ  ความรู้สึกสบายใจ  ความผ่อนคลาย  เด็กจะถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่

             รูดอล์ฟ  สไตเนอร์  ( Rudolf  Stiner ,  1861 – 1925 )  ได้จัดตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟ  ( Waldorf  School )  แห่งแรกขึ้นที่สตุทการ์ต  ประเทศเยอรมนี  เมื่อเดือนกันยายน  ค.ศ.  1919  โดยมีความเชื่อว่าการศึกษาคือการช่วยคนให้ดำเนินวิถีชีวิตแห่งตนที่ถูกต้องตามธรรมชาติ  ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมตามแต่ตนสนใจโดยมีครูและผู้ปกครองเป็นผู้ป้องกันเด็กจากการรบกวนของโลกสมัยใหม่และเทคโนโลยี  สิ่งที่เด็กสัมผัสต้องเป็นธรรมชาติที่บริสุทธ์

              แนวคิดของสไตเนอร์เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ  เพราะสไตเนอร์เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู  ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบวิถีพุทธ


แนวคิดการจัดการศึกษาวิธีพุทธ

            ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยคนส่วนใหญ่ในประเทศก็นับถือศาสนาพุทธ ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐบาลมีนโยบายในการดำเนินงานโรงเรียนวิธีพุทธ เพราะพุทธศาสนามีความสำคัญต่อการศึกษาไทยสูงมากในอดีตสถานศึกษาแห่งแรกของคนไทยก็คือวัดซึ่งเป็นสถานที่เพาะเลี้ยงคนตั้งแต่วัยเยาว์ให้เกิดความเคยชินกับความดีงามสังคมไทยและวัดจึงแยกกันไม่ออก จะสังเกตเห็นได้ว่าโรงเรียนจะตั้งอยู่ใกล้วัดเสมอและยังมีให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีสมัยใหม่การเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาในสังคมไทยทำให้วัฒนธรรมอันดีงามของเราไม่มีความสำคัญ อีกทั้งการเรียนการสอนในปัจจุบันก็ไม่มีวิชาศีลธรรมเหมือนเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา หรืออาจไปรวมอยู่ในวิชาสังคมศึกษาแล้ว  ความเจริญต่างๆที่เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของสังคมไทยทำให้ทั้งผู้ใหญ่ทั้งเด็กไม่สนใจและละเลยความเป็นชาวพุทธไปมากขึ้นยกตัวอย่างเช่น การเข้าวัดทำบุญในวันพระก็มีน้อย อ้างเพียงไม่มีเวลา หรือการไหว้ที่สวยงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยโดยแท้ว่าเวลาเดินผ่านคุณครูหรือผู้ใหญ่ในโรงเรียนต้องยกมือไหว้ด้วยความนอบน้อมหรือก้มตัวเล็กน้อยแล้วค่อยเดินผ่านไปก็ไม่ทำมีแต่จะวิ่งชนเสียด้วยซ้ำ การไหว้แม่พ่อ การไหว้ขอบคุณเวลาที่ผู้ใหญ่ให้ของหรือการพูดที่ไพเราะก็มีให้เห็นน้อยมากเพราะฉะนั้นถ้าจะต้องมาเริ่มต้นปลูกฝังสิ่งที่ดีให้กับเด็กผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กด้วย หรือการที่จะสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ

    ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น ” คือ มีปัญญารู้เข้าใจในทางคุณค่าแท้ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตา เป็นฐานการดำเนินชีวิตโดยมีผู้บริหารและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรการพัฒนา เน้นการจัดสภาพทุก ๆ ด้าน เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการที่ส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามของชีวิต มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ

 

การสอนแบบโครงการ

              การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา
  การสอนแบบโครงการเป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่น ครูที่ใช้การสอนแบบนี้ได้อย่างเหมาะสม เด็กจะมีแรงจูงใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
          1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การที่เด็กได้สนทนาร่วมกันทั้งเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กสนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
        เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้ดีหากได้สนทนาร่วมกับเพื่อนและครูเป็นกลุ่มย่อย ในบริบทที่เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการสำรวจจริงๆ ครูสามารถแนะนำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในกลุ่มใหญ่ด้วย

          2. การทำงานภาคสนาม (Field Work) การทำงานภาคสนามในที่นี้ครูควรคิดถึงประสบการณ์ตรงที่เด็กจะได้รับจากการไปศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะแตกต่างจากการพาเด็กไปทัศนศึกษา การทำงานภาคสนามของเด็กไม่จำเป็นต้องพาเด็กไปนอกสถานที่เสมอไป อาจเป็นการสำรวจสิ่งปลูกสร้าง หรือสนามของโรงเรียน การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ในโรงเรียน การวัด การทำแผนที่ ฯลฯหากต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ภาคสนามนอกโรงเรียนอาจเลือกพาเด็กไปสำรวจบริเวณใกล้ๆ โรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนน ป้ายต่างๆ บ้าน สนาม อาคาร โบราณสถาน สถานีขนส่ง ฯลฯ ทั้งนี้อาจจัดให้เด็กได้พูดคุยกับบุคคลซึ่งเป็นภูมิปัญญาในเรื่องนั้น ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ใช้บริกาสาธารณะ ฯลฯ
        การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างความรู้ใหม่จากประสบการณ์ตรง และเกิดการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในห้องเรียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในการตอบปัญหาต่างๆ ด้วย

        3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation) การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตน สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจศึกษา การกำหนดคำถามที่จะนำไปสู่การสืบค้น การแสดงสิ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้ เด็กๆ สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ตนเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่นบทบาทสมมติ การสร้างแบบจำลองต่างๆ ฯลฯ 
        เด็กจะมีโอกาสทบทวนข้อมูลที่รวบรวมจากการทำงานภาคสนาม เลือกวิธีการนำเสนอที่ทำให้เพื่อน ครู หรือพ่อแม่เข้าใจ เป็นโอกาสที่เด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง

        4. การสืบค้น (Investigation) การสืบค้นในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการสามารถใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นๆ ในขณะที่ไปทำงานภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ที่ครูเชิญมาที่ห้องเรียน สังเกตและสำรวจวัตถุสิ่งของ วาดภาพโครงร่าง ใช้แว่นขยายส่องดูใกล้ๆ สัมผัสพื้นผิวต่างๆ และอาจเป็นการค้นหาคำตอบจากหนังสือในห้องเรียนหรือห้องสมุดก็ได้เช่นกัน

        5. การจัดแสดง (Display) ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นงานรายบุคคล หรืองานกลุ่มซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงไว้ตลอดทุกระยะของการดำเนินการตามโครงการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดหรือความรู้ให้เด็กทั้งชั้นเรียนได้เรียนรู้ การจัดแสดงช่วยให้เด็กและครูมีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของโครงการให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนรับรู้ด้วย
        
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป

             เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 

     
    หลังจากนั้นั้นอาจารย์ก็ได้สอบถามแต่ละโรงเรียนที่ได้ไปสังเกตการณ์สอนมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง และให้เพื่อนๆช่วยกันวิเคราะห์ว่าเหมาะสมหรือควรเพิ่มเติมตรงไหนอย่างไรจากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดถึงกิจกรรมเคลื่อนไหวและได้ให้เพลงไว้จัดการชั้นเรียน2 เพลง ซึ่งเป็นเพลงของ ศาสตราจารย์ อำไพ สุจริตกุล อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเนื้อเพลงดังนี้
   1. มือกุมกัน แล้วก็ยืนตรงๆ (ซ้ำ) ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนตรง
   2.นั่งขัดสมาทให้ดี สองมือวางทับกันทันที หลับตาตั้งตัวตรงซิ ตั้งสติให้ดี
      ภาวนาในใจ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้ทำท่าทางประกอบ ซึ่งสองเพลงนี้สามารถนำไปใช้จัดการชั้นเรียนได้ขณะที่ให้เด็กทำสมาธินั่งหรือยืน ต่อไปเป็นกิจกรรม การนำความรู้เดิมเรื่องของกิจกรรมเคลื่อนไหวมาเขียนเป็น Map โดยให้รวมกลุ่มเป็นโรงเรียน


จากนั้นอาจารย์ก็ได้บรรยายเพิ่มเติมว่ากิจกรรมเคลื่อนไหวควรจะมีอะไรบ้าง สามารถเพิ่มเติมลูกเล่นในการจัดกิจกรรมได้อย่างไร สอนให้รู้จักการแก้ปัญหาและวางแผนอย่างเป็นระบบ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียง-ทำนองเพลง เสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย
4. สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
5. ให้เด็กเกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียภาพในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีตามจังหวะ รวมทั้งเกิดทักษะ ในการฟังดนตรีหรือจังหวะต่างๆ
6. พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม
7. ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
8. พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้
9. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี                       

การเคลื่อนไหวมี 3 ระดับ
 สูง เช่นการเขย่
 กลาง ระดับปกติของไหล่    
 ต่ำ ระดับต่ำกว่าไหล เช่น ก้ม                                

 
 
การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดย ร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ

ตัวอย่างการฝึกการเคลื่อนไหวพื้นฐาน
1.การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
1) ก้มศรีรษะ กลับตั้งตรง หงายศีรษะไปข้างหลัง กลบสู่ท่าตรง
2) เหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า ชูขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง
3) ยกมือทั้งสองแตะไหล่ ชูมือขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง
4) เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างอิสระ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้เปลี่ยนท่าใหม่โดย ไม่ให้ซ้ำกัน

2.การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
 1) การเดิน
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- เดินไปรอบๆ บริเวณ โดยระวังไม่ให้ชนกัน
- เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ให้จำนวนก้าวน้อยครั้งที่สุด ฯลฯ
2) การวิ่ง
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- วิ่งไปให้ทั่วบริเวณโดยไม่ให้ชนกัน
- วิ่งไปข้างหน้าแล้ววิ่งถอยหลัง เมื่อได้ยินสัญญาณให้เปลี่ยนท่าสลับกัน ฯลฯ
3) การกระโดด
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- ให้เด็กกระโดดขาเดียวไปรอบๆ บริเวณ โดยสลับขาบ้าง ให้เหวี่ยงแขน ขยับไหล่ หรือขยับ ร่างกายส่วนอื่นไปด้วย

แนวทางการประเมิน
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์พยายามกระตุ้นให้นักศึกษาอธิบายความรู้เดิม และได้มีการให้รู้จักคิดทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้รอบคอบ จะได้ไม่เสียเวลาทำซ้ำหลายๆรอบ และให้ทริคในการเก็บเด็กเพื่อจัดการชั้นเรียน

ประเมินตนเอง
    ความรู้ยังไม่แน่นและไม่แม่นยำต้องกลับไปทบทวนและศึกษาเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น