วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

 บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่ 3 31/08/63

ทักษะ EF (Executive Functions) คืออะไรในเด็กเล็ก ?


ทักษะ EF คือ กระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการในชีวิตเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งรู้จักริเริ่มลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน

EF สำคัญอย่างไร

ฐานของทักษะEF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการรู้จักตัวเลขหรือตัวหนังสือ เมื่อเด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF ทั้งตัวเด็กเองและสังคมได้รับประโยชน์ จะช่วยสร้างพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง และครอบครัว หากเด็กมีทักษะ EFs เขาจะมีความสามารถในการคิด

  • มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ
  •  รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้ และจัดการกับกระบวนการทำงาน จนเสร็จทันตามกำหนด
  •  นำสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนในประสบการณ์มาใช้ในการทำงานหรือกิจกรรมใหม่ได้
  • สามารถปรับเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อเงื่อนไขหรือสถานการณ์เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดตายตัว จนถึงขั้นมีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้
  •  รู้จักประเมินตนเอง นำจุดบกพร่องมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นได้ 
  •  รู้จักยับยั้งควบคุมตนเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมแม้จะมีสิ่งยั่วยวน
  •  รู้จักแสดงออกในครอบครัวในห้องเรียน กับเพื่อน หรือในสังคมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การรู้จักเคารพผู้อื่น อยู่กับคนอื่นได้ดี ไม่มีปัญหา
  • เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น มีความมุ่งมั่นพร้อมความรับผิดชอบที่จะไปสู่ความสำเร็จ

 

เด็กแบบนี้อย่างนี้มิใช่หรือ ที่พ่อแม่ ครู และสังคมต้องการ เด็กอย่างนี้มิใช่หรือ ที่จะนำพาสังคมและประเทศชาติให้อยู่รอดได้ในโลกที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เด็กอย่างนี้มิใช่หรือที่จะไม่สร้างปัญหายาเสพติดให้พ่อแม่ ครอบครัวและสังคมให้ยุ่งยากเดือดร้อนต่อไป

shutterstock_388835323สำหรับกลุ่มทักษะ EF ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน

 1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ เด็กที่มี Working Memory ดี IQ ก็จะดีด้วย

2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน “รถที่ขาดเบรก” อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้

3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว

4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง

5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า

6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง

7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา

9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ

มีงานวิจัยมากมาย ระบุว่าเด็กที่มี EF ดี จะมีความพร้อมทางการเรียนมากกว่า และประสบความสำเร็จในด้านการเรียนทุกระดับ จนกระทั่งในการทำงาน ช่วยวัย 3 – 6 ชวบจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF

 

เทคนิคในการสร้าง EF นั้น เริ่มจากการเลือกของเล่นให้ลูกเล่น ทำให้เขาคิดอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างของเล่น เช่น

  • ตัวต่อบล็อกไม้
  • เลโก้
  • หมากฮอส
  • หมากรุก
  • จิ๊กซอว์ แบบง่าย ๆ
  • ของเล่นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และมีรูให้หลอดลงในช่อง

ของเล่นเหล่านี้ เป็นการพัฒนาความคิดของเด็ก หรือแม้แต่การทำงานบ้าน อาจจะเตรียมผ้าแห้งเขาเขาเล่นเช็ดตู้ เช็ดพื้น หรือไม้กวาดให้เขาได้กวาดบ้าน เป็นการฝึกความรับผิดชอบ รวมถึง การอ่านหนังสือให้ฟังทุกคืน ยิ่งพ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังมากเท่าไหร่ เด็กก็จะมีทักษะเรื่องการอ่าน (รวมถึงรักการอ่านด้วย) รวมถึงการเขียน ฝึกให้มีเชาวน์ปัญญาดี

อีกเทคนิคคือ ไม่ให้เด็กเครียด คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสภาวะแวดล้อมที่ไม่กดดัน สร้างความเป็นมิตร เมื่อเด็กน้อยรู้สึก Happy ก็จะรู้สึกสบายใจ และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นของเล่นที่บ้าน เกิดความกล้าคิดกล้าทำในสิ่งต่าง ๆ

    และนี่ก็คือ EF ที่คนเป็นครูปฐมวัยไม่รู้ไม่ได้ เพราะเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเด็ก นอกจากนี้ยังมีเพลง สัั้นๆที่ช่วยให้จำง่ายว่า ทักษะต่างๆมีจุดเน้นอะไร เช่น
เพลงทักษะพื้นฐาน
                                                                                                                                     แต่งโดย
ดร.จินตนา สุขสำราญ

ทักษะ ทักษะพื้นฐาน             เรื่องราวเล่าขานความจำเพื่อใช้งาน
ตรึกตรองชั่งใจนานนาน (ซ้ำ)     ยืดหยุ่นสำราญคิดนอกกรอบเอย(ซ้ำ)

ทักษะกำกับตนเอง
                                                                                                                                        แต่งโดย
ดร.จินตนา สุขสำราญ

จดจ่อ สมาธิมั่น                      ควบคุมนั้นหนาอารมณ์ตนเอง
ทบทวน ทบทวนโดยพลัน(ซ้ำ)  อย่าหุนหันปรับแก้ให้ดี(ซ้ำ)

ทักษะปฏิบัติ
                                                                                                                                      แต่งโดย
ดร.จินตนา สุขสำรา
คิดแล้วต้องลงมือ              วางแผนนั้นหรือเพื่อดำเนินการ
พากเพียร พากเพียรจนนชำนาญ(ซ้ำ)    สุข...สราญบรรลุเป้าไปเลย(ซ้ำ)

จากนั้นก็เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบเพลง โดยอาจารย์กำหนดเพลงให้และให้แบ่งเป็นกลุ่มคิดท่าแล้วนำเสนอ โดยท่าที่จะใช้สอนเด็กควรเป็นท่าไม่ยาก และไม่เยอะจนเกินไป ฟังดนตรีให้เข้าจังหวะ โดยกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะนั้นสามารถจัดซ้ำได้เพียงแต่เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวก็จะสามารถจัดกิจกรรมได้กลากหลาย และควรมีลีลาท่าทางของแต่ละคนเพื่อไม่ให้กิจกรรมนั้นดูน่าเบื่อ


ประเมินอาจารย์
    มีการให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของ     EF พร้อมทั้งให้เพลงที่ช่วยให้สามารถจำเนื้อหายาวๆได้ และมีกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดความคิดและการจัดการอย่างเป็นระบบอีกด้วย

ประเมินตัวเอง
    มีความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องของทักษะ    EF และมีความคิดที่เป็นกระบวนการมากขึ้นในการจะจัดกิจกรรม                      


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น