วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

  บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่10 26/10/63

สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำอุปกรณ์มาประดิษฐ์ตามหน่วยการเรียนรู้ โดยสิ่งที่ประดิษฐ์นั้นต้องมีความเป็น STEM และในการประดิษฐ์นั้น จะไม่ได้ทำของกลุ่มตนเอง ต้องทำของกลุ่มเอง เช่น หน่วยผีเสื้อต้องไปทำของหน่วยรักเมืองไทย ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้จัดอุปกรณ์ไว้ให้เพื่อนๆทำ ผีเสื้อ โดยให้มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของแรงโน้มถ่วงโลก โดยให้เพื่อนเลือกวัสดุในการทำปีก ได้แก่ ใบไม้ กระดาษ ถุงพลาสติก แล้วให้ลองโยนจากที่สูงจากนั้น สังเกตแล้วจดบันทึกว่า วัสดุชนิดใด ที่ตกลงสู่พื้นช้าที่สุด และทำข้อสรุป


อุปกรณ์ทำผีเสื้อ

1.กระดาษ

2.ใบไม้

3.ถุงพลาสติก

4.หลอด

5.กรรไกร

6.สี

7.กาว

8.ของตกแต่ง





ในส่วนของกลุ่มดิฉันนั้นได้ไปทำกิจกรรมของกลุ่ม รักเมืองไทย เป็นการจัดกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญนั่นคือ การทำกระทงจากอาหารปลา 
วัสดุ
1.อาหารปลา
2.ฟองน้ำชุบน้ำ
3.สี
4.กระดาษ
5.ธูปเทียน


ในขั้นตอนการทำ
1.ร่างแผนการทำขึ้นมาก่อนว่าเราต้องการทำกระทงรูปแบบใดเพื่อเป็นแนวทาง ต้องใช้อาหารปลาสีอะไร ใช้เท่าไหร่
2.จากนั้นทำตามแบบโดยการนำอาหารแตะที่ฟองน้ำชุบน้ำแล้วนำมาติดกัน
3.เมื่อเสร็จแล้วนำธูปเทียนมาปักให้เรียบร้อย


ก็จะได้กระทงที่มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปจากการออกแบบ


จากนั้นต้องมาทดลองเพื่อหาข้อสรุป ว่ากระทงที่ทำจากอาหารปลานั้นจะสามารถลอยได้หรือไม่


ผลสรุปการที่กระทงสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัสดุหรือสิ่งที่เรานำมาใช้ในการทำกระทงนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมาซึ่งก็คือ แรงลอยตัวหรือแรงพยุง นั่นเอง โดยแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งถ้ากระทงมีปริมาตรหรือพื้นที่ผิวสัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่ ความหนาแน่นของกระทงจะยิ่งลดลง แรงลอยตัวหรือแรงพยุงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น กระทงจึงสามารถลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้ 
 สำหรับSTEM ได้แก่
S เรื่องแรงลอยตัวหรือแรงพยุง
T อุปกรณ์ที่นำมาใช้ได้แก่ อาหารปลา ธูป เทียน ฟองน้ำชุบน้ำ
E การออกแบบรูปทรงของกระทง
M จำนวนอาหารปลาที่ใช้ในการทำกระทรง รูปร่าง รูปทรง

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์จะคอยเดินดูตามกลุ่ม สังเกตขั้นตอนการทำ มีการใช้คำถามกระตุ้นความคิด ว่าสิ่งที่ทำนั้นเกี่ยวข้องกับ STEM อย่างไร หากไม่ถูกต้องอาจารย์ก็จะอธิบายให้เข้าใจ เพื่อให้นักศึกษาทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง

ประเมินตัวเอง
  จากการทำกิจกรรม ทำให้มีการทำงานที่เป็นขั้นตอนมากขึ้น ตั้งแต่่การวางแผนจนถึงลงมือกระทำ และการสังเกตวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น ทำให้ในการทำทุกๆกิจกรรมนั้นไม่สูญเปล่า                 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น