วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

  บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่6 28/09/63

สำหรับสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอ การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งดิฉันก็ได้สรุปให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นและง่ายต่อการจำดังนี้

1.  การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป  สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน  การปฏิบัติ และการทบทวน ( plan-do-review cycle ) เมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจ  จุดสำคัญอยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้ ( Key  experience ) ที่เด็กควรได้รับระหว่างกิจกรรม  ซึ่งครูต้องมีปฏิสัมพันธ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมให้มากที่สุด

        การเรียนการสอนทุกรูปแบบต่างก็ส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้  แต่สิ่งที่มุ่งหวังให้เด็กได้รับอย่างน้อยต้องส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญา เพื่อการเรียนรู้ที่ดีและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้มีความคิดอิสระสร้างสรรค์  ริเริ่ม  ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ
            ครู คือบุคคลที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  หากรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องภาวะการเรียนรู้ของเด็กและครูมีความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอน ก็จะเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น

2.การสอนแบบโครงงานเป็นการสอนเรื่องที่เด็กสนใจทั้งในแนวกว้างและแนวลุ่มลึกเรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
  • วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ 
    • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ 
    • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
    • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น 
    • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน 


3. การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยมีครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน และเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้เสรีภาพแก่เด็ก ให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ใช้จิตใจซึมซับสิ่งแวดล้อม โดยครูคำนึง ถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของเด็กและยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย การจัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง เพราะมอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กคือ ผู้รู้ความต้องการของตนเองและมีความสามารถที่จะซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมได้ หลักสูตรของมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กวัย 3-6 ขวบ ครอบคลุมการศึกษา 3 ด้านคือ ด้านทักษะกลไก (Motor Education) ด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) ด้านการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation For Writing and Arithmetic) 

4.ารจัดการศึกษาแนววอลดอร์ฟเป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยการพัฒนากาย (Body) จิต (Soul) และจิตวิญญาณ (Spirit)ให้บรรลุถึง ความดี (Good) ความงาม (Beauty) ความจริง (Truth) เรียนรู้ที่จะเข้าใจ “เด็กตามธรรมชาติ” (Natural Childhood) และต้องใส่ใจในการเตรียมสิ่งแวดล้อม สถานที่ อาคาร ห้องเรียน บริเวณสวน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่นที่เด็กเล่น ให้เด็กสามารถเชื่อมโยงที่มาที่ไปในธรรมชาติได้ 


บทบาทครู ( 3 R ) ได้แก่
  1. การทำซ้ำ (Repetition) เพื่อให้เกิดมั่นคง ครูควรทำกิจกรรมการเรียนการสอนและงานบ้านต่างๆอย่างสม่ำเสมอ หรือเรียกว่าการทำซ้ำ
  2. จังหวะ (Rhythm) เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยเด็ก ครูควรจัดตารางประจำวัน ตารางกิจกรรมในสัปดาห์ และเทศกาลประจำปี ให้สอดคล้องกับจังหวะที่ราบรื่นแบบลมหายใจเข้าและออก ให้ตารางของช่วงนั้นๆเหมาะสมลื่นไหล ไม่อัดแน่นหรือติดขัด หรือเรียกว่า การรักษาจังหวะ หรือ ความรู้สึกแบบท่วงทำนอง
  3. เคารพ (Reverence) ด้วยความตระหนักรู้ที่ว่า “มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” ทำให้เราอยู่ในโลกด้วยความรู้สึกกตัญญูและเคารพต่อธรรมชาติ ทั้งยังเคารพต่อศักยภาพของความเป็นมนุษย์
5.การจัดการเรียนการเรียนรู้แบบสะเต็ม STEM คือการผนวกแนวคิดการออกแบบเชิงวิศวกรรมเข้ากับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ของผู้เรียน กล่าวคือ ในขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และฝึกทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้มาออกแบบวิธีการหรือกระบวนการเพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน  ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอน ได้แก่

1.ระบุปัญหา (Problem Identification)

2.รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search)

3.ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design)

4.วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development)

5.ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement)

6.นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation)


6.การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะเป็นวิธีการที่ให้ผู้เรียนค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ และมีผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยการความสะดวก ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ในการหาความรู้ ซึ่งผู้เรียนต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ
 
          1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) หมายถึง ขั้นตอนการหาความรู้โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออบแบบการทดลอง และทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปผล
 
          2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) ซึ่งหมายถึง ทักษะการคิด ทั้งทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นผสมที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง

  ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5E ดังนี้
1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement)
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration)
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation)
4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration)
 5. ขั้นประเมิน (evaluation)




ประเมินอาจารย์
    อาจารย์มีการขยายเพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ให้อิสสระในการทำกิจกรรมและคอยแนะนำให้กิจกรรมมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ประเมินตัวเอง
    มีการเตรียมความพร้อมในส่วนของเนื้อหา แต่ยังขาดสื่อ และวิธีการดึงดูดความสนใจ ต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น