วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่13  16/11/63

สัปดาห์นี้เป็นการเรียนครั้งสุดท้าย ก่อนทำการสอบปลายภาค อาจารย์ทดสอบความรู้นักศึกษาโดยให้เขียนความหมายของกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ที่ใช้สำหรับจัดประสบการณ์ให้เด็ก สรุปได้ดังนี้



 เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ หรือคำคล้องจอง



เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง



 เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก



 เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้



 เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก



 เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้

กิจกรรมต่อมา เป็นการให้ตัวอย่างของกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์มาให้แล้วให้นักศึกษา วิเคราะห์ว่าควรจัดผ่านกิจกรรมใดใน 6 กิจกรรมหลัก จากนั้นกิจกรรมสุดท้ายคือ อาจารย์นำตัวอย่างกิจกรรม แล้วให้นักศึกษาวิเคราะห์ว่า กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์คืออะไร ตัวอย่าง 


1.เด็กเรียงลำดับแผ่นภาพการเกิดของสัตว์ต่างๆได้ เช่น การเกิดของผีเสื้อ
2.เด็กบอกลำดับการเกิดของสัตว์ต่างๆได้


1.เด็กใช้กรรไกรในการตัดกระดาษ
2.เด็กเติมส่วนประกอบของสัตว์น้ำ
3.เด็กตกแต่งชิ้นงานด้วยวัสดุอย่างครบถ้วน


ประเมินอาจารย์
    อาจารย์มีวิธีในการให้ความรู้โดยการดู ทุนความรู้เดิมของนักศึกษาก่อน แล้วจึงค่อยเพิ่มเติม หรือให้ข้อเสนอแนะ ให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถของตนเองก่อน

ประเมินตัวเอง
    เข้าใจจุดเน้นของการจัดกิจกรรมมากขึ้น ว่าในการจัดควรคำนึงถึงอะไร อะไรที่เด็กควรได้รับ และในกิจกรรมนั้นวัตถุประสงค์ควรเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ เรียนครั้งสุดท้ายทำให้เข้าใจทั้งหมดที่เรียนมา

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่12 9/11/63

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาแก้ไขและจัดทำแผน ลงในแบบฟอร์ม ที่อาจารย์ให้ให้มีความสมบูรณ์ แล้วนำมาวิเคราะห์ภายในห้องว่าต้องมีการปรับหรือเพิ่มเติมส่วนใด ดิฉันจึงไปสืบหาความหมายของแต่ละหัวข้อ ดังนี้

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงความสามารถของแต่ละช่วงอายุ โดยมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงอย่าต่อเนื่องเป็นลำดับขั้น

สภาพที่พึงประสงค์ คือ พฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่คาดหวังให้เกิดกับเด็ก บนพื้นฐานพัฒนาการตามวัย สอดคล้องกับตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ คือ คุณลักษณะหรือจุดประสงค์ที่ต้องการ

วัตถุประสงค์ คือ เป้าหมาย ที่เห็นเป็นการแสดงพฤติกรรมวัดได้ สังเกตได้

จัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้ มโนทัศน์ แนวคิด กรอบพัฒนาการ และกิจกรรม มีการบูรณาการรายวิชา 

ในขั้นสอน ต้องมีภาพรวม ขั้นสรุปต้องมีการจัดทำผังกราฟฟิก 

 อาจารย์ได้ให้ไปแก้ไขเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มดิฉันทำหน่วยผีเสื้อ ต้องมีการแก้ไข วันจันทร์ ไม่ต้องบอกว่าผีเสื้อคืออะไร แต่ให้ลงเนื้อหาเลย ควรมีโทษ ดิฉันจึงทำการปรับในเรื่องของกิจกรรมและเว็บเนื้อหา ให้มีวามสมบูรณ์ รวมทั้งระบุตัวบบ่งชี้ว่าตรงหรือสอดคล้องหรือไม่


ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ไม่เหนื่อยที่จะอธิบายเลย แม้จะหลายรอบ แต่อาจารย์หวังดีอยากให้นักศึกษารู้ ทำความเข้าใจและนำไปใช้ได้จริง จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขและพิจารณาหลายรอบ

ประเมินตัวเอง
    รู้จุดบกพร่องมากขึ้น ต้องทำความเข้าใจความหมายในแต่ละหัวข้อให้ละเอียด เพื่อการทำแผนที่ถูกต้องและไม่ผิดวัตถุประสงค์

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

  บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่11 2/11/63

สำหรับสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษา นำโบชัวร์มาเพื่อทำหนังสือคำศัพท์ โดยมีอุปกรณ์ ดังนี่้

1.กระดาษ A4 

2.โบชัวร์

3.กรรไกร

4.กาว

5.ปากกาเคมี

วิธีทำ

1.สังเกตดูว่าในโบชัวร์ที่นำมานั้น สามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่อะไรได้ เช่น หากมีรูปของกินเยอะ อาจจะให้เป็นหมวดของกิน ถ้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็ให้เป็นหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.ตัดรูปภาพตามหมวดที่เรากำหนดขึ้น เช่น หมวดของกิน ก็ตัดแต่รูปของกิน

3.เมื่อเราได้รูปภาพแล้ว ก็เริ่มแปะลงในกระดาษ โดยในการแปะนั้นก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ความพอดี และความสวยงาม โดยเว้นขอบกระดาษ รูปภาพต้องอยู่บนคำศัพท์ 

4.หากเป็นหมวดของกิน ให้เขียนว่า ฉันชอบกิน...โดยมีรูปภาพพร้อมคำศัพท์ 

5.คำศัพท์ที่เขียนนั้น ควรเป็นปากกาที่สีแตกต่าง เช่น ฉันชอบกิน ซาลาเปา (ใช้ปากกาเน้นสีเพื่อให้เด็กรู้คำศัพท์)

6.ในหน้าสุดท้ายควรมีข้อควรระวังในแต่ละหมวด

7.จากนั้นทำการรวมเล่ม








จากการทำหนังสือคำศัพท์ เป็นวิธีการทำหนังสือคำศัพท์ที่สามารถทำได้ขึ้นเอง ทั้งยังให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำงาน เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ และในการทำกิจกรรมเด็กจะได้รับการพัฒนาการในทุกๆด้าน เพราะเป็นงานที่ต้องทำร่วมกัน ได้มีการฝึกการสังเกต และการจดจำคำศัพท์
    จากนั้นอาจารย์ก็มอบหมายให้นำแผนการสอนของแต่ละกลุ่มไปพิมลงในแบบฟรอมให้เรียบร้อย และต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมในการเขียน คือต้องมีความละเอียด ตั้งแต่จุดประสงค์จนถึงกิจกรรมที่ใช้จัดกิจกรรม ใช้คำถามอะไร ควรบอกให้ละเอียด

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์จะคอยอธิบายจุดประสงค์ในทุกๆกิจกรรม ว่าสิ่งที่ทำนั้นมีความหมายต่อตัวเด็กอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ให้นักศึกษานำไปใช้เมื่อต้องจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย 

ประเมินตัวเอง
  มีความตั้งใจทำกิจกรรม และเมื่อมีความสงสัยก็จะขอคำแนะนำจากอาจารย์ มีการคิดวิเคราะห์ตามเวลาที่อาจารย์อธิบาย

  บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่10 26/10/63

สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำอุปกรณ์มาประดิษฐ์ตามหน่วยการเรียนรู้ โดยสิ่งที่ประดิษฐ์นั้นต้องมีความเป็น STEM และในการประดิษฐ์นั้น จะไม่ได้ทำของกลุ่มตนเอง ต้องทำของกลุ่มเอง เช่น หน่วยผีเสื้อต้องไปทำของหน่วยรักเมืองไทย ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้จัดอุปกรณ์ไว้ให้เพื่อนๆทำ ผีเสื้อ โดยให้มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของแรงโน้มถ่วงโลก โดยให้เพื่อนเลือกวัสดุในการทำปีก ได้แก่ ใบไม้ กระดาษ ถุงพลาสติก แล้วให้ลองโยนจากที่สูงจากนั้น สังเกตแล้วจดบันทึกว่า วัสดุชนิดใด ที่ตกลงสู่พื้นช้าที่สุด และทำข้อสรุป


อุปกรณ์ทำผีเสื้อ

1.กระดาษ

2.ใบไม้

3.ถุงพลาสติก

4.หลอด

5.กรรไกร

6.สี

7.กาว

8.ของตกแต่ง





ในส่วนของกลุ่มดิฉันนั้นได้ไปทำกิจกรรมของกลุ่ม รักเมืองไทย เป็นการจัดกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญนั่นคือ การทำกระทงจากอาหารปลา 
วัสดุ
1.อาหารปลา
2.ฟองน้ำชุบน้ำ
3.สี
4.กระดาษ
5.ธูปเทียน


ในขั้นตอนการทำ
1.ร่างแผนการทำขึ้นมาก่อนว่าเราต้องการทำกระทงรูปแบบใดเพื่อเป็นแนวทาง ต้องใช้อาหารปลาสีอะไร ใช้เท่าไหร่
2.จากนั้นทำตามแบบโดยการนำอาหารแตะที่ฟองน้ำชุบน้ำแล้วนำมาติดกัน
3.เมื่อเสร็จแล้วนำธูปเทียนมาปักให้เรียบร้อย


ก็จะได้กระทงที่มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปจากการออกแบบ


จากนั้นต้องมาทดลองเพื่อหาข้อสรุป ว่ากระทงที่ทำจากอาหารปลานั้นจะสามารถลอยได้หรือไม่


ผลสรุปการที่กระทงสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัสดุหรือสิ่งที่เรานำมาใช้ในการทำกระทงนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมาซึ่งก็คือ แรงลอยตัวหรือแรงพยุง นั่นเอง โดยแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งถ้ากระทงมีปริมาตรหรือพื้นที่ผิวสัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่ ความหนาแน่นของกระทงจะยิ่งลดลง แรงลอยตัวหรือแรงพยุงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น กระทงจึงสามารถลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้ 
 สำหรับSTEM ได้แก่
S เรื่องแรงลอยตัวหรือแรงพยุง
T อุปกรณ์ที่นำมาใช้ได้แก่ อาหารปลา ธูป เทียน ฟองน้ำชุบน้ำ
E การออกแบบรูปทรงของกระทง
M จำนวนอาหารปลาที่ใช้ในการทำกระทรง รูปร่าง รูปทรง

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์จะคอยเดินดูตามกลุ่ม สังเกตขั้นตอนการทำ มีการใช้คำถามกระตุ้นความคิด ว่าสิ่งที่ทำนั้นเกี่ยวข้องกับ STEM อย่างไร หากไม่ถูกต้องอาจารย์ก็จะอธิบายให้เข้าใจ เพื่อให้นักศึกษาทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง

ประเมินตัวเอง
  จากการทำกิจกรรม ทำให้มีการทำงานที่เป็นขั้นตอนมากขึ้น ตั้งแต่่การวางแผนจนถึงลงมือกระทำ และการสังเกตวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น ทำให้ในการทำทุกๆกิจกรรมนั้นไม่สูญเปล่า                 






  บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่9 19/10/63

เป็นการนำวิดีโอการสอนของแต่ละหน่วยมาช่วยกันวิเคราะห์ ซึ่งดิฉันได้สรุปมาดังนี้

1.หลักการเลือกเรื่องที่จะสอน

-มีผลกระทบ ใกล้ตัว เด็กอยากรู้

-การแตกเนื้อหา ดูว่าเรื่องนั้นควรจะสอนอะไรบ้างและมีลักษณะอย่างไร บางอย่างอาจมีวงจร มีการเจริญเติบโต มีประโยชน์ วิธีดูแล

สาระที่ควรเรียนรู้ + ประสบการณ์สำคัญ = สาระการเรียนรู้ เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปไกลตัว

2.การใช้สื่อ

-รูปควรติดข้างบนคำเพื่อการการแทนค่า

-เด็กเล็กอาจมีแต่รูป 2-3 ขวบอาจมีทั้งภาพและคำ

-รูปในแผ่นชาร์จอะไรที่ไม่เกี่ยวไม่ต้องวาดลงไป

-ไม่ควรมีเนื้อหาเต็ม ควรเหลือพื้นที่ไว้ให้เด็กได้เติมเต็ม

3.ขั้นนำ

-ดึงดูดความสนใจของเด็ก 

-ไม่ต้องบอกว่าต่อไปจะทำอะไร

-คำไหนไม่ได้เขียนไม่ควรพูด

-การนำเข้าสู่บทเรียนควรมีสื่อ 

-มีการบูรณาการเข้าไปด้วย

-ให้เด็กได้มีส่วนร่วม

4.ขั้นสอน

-หากมีการเตรียมสื่อ อย่าพึ่งรีบเปิดให้เด็กเห็น

-ให้เด็กฝึกทักษะการสังเกต

-พูดให้กระชับ หรือมีการถามซ้ำ

-มีการนับการแยก การเปรียบเทียบ

-ใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด

-ให้เด็กได้เขียนได้ตอบ

-หากเป็นเรื่องสิ่งมีชีวิตต้องมีการดำรงชีวิต

-หากเป็นเรื่องที่ต้องให้เด็กเห็นควรมีของจริงมาให้ดู

5.ขั้นสรุป

-จัดทำตาราง หรือผังกราฟฟิก เพื่อเป็นการสรุปและทบทวนที่เรียนมา


และนี่คือเทคนิคที่อาจารย์แนะนำมาจากวิดีโอ ที่นักศึกษาได้ไปจัดทำ อาจารย์จะค่อยๆพิจารณาทีละกลุ่ม ซึ่งก็มีข้อที่ควรปรับปรุงคล้ายๆกัน กลุ่มของดิฉันทำหน่วยผีเสื้อก็ต้องปรับเรื่องของขั้นนำการดึงดูดความสนใจ การใช้สื่อในการนำเข้าสู่บทเรียน เพลงยาวไป หากเป็นเรื่องของประโยชน์หรือโทษควรนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการเล่านิทาน

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ให้คำแนะนำสำหรับไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริง

ประเมินตัวเอง
  ยังต้องมีการปรับในเรื่องของรูปแบบการสอนให้มีความน่าสนใจ และให้เด็กได้มีส่วนร่วมมากขึ้น

  บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่8 12/10/63

สำหรับสัปดาห์นี้ อาจารย์มีกิจกรรม STEM มาให้นักศึกษาได้ทำ นั่นก็คือ การทำสไลเดอร์ โดยต้องมีการไหลของวัตถุที่ช้าที่สุด มีอุปกรณ์ดังนี้

1.หลอด 25 อัน  2.เทปใส


หลังจากนั้นให้เริ่มลงมือทำ โดยเริ่มจากการวางแผนก่อนว่าจะทำออกมาในรูปแบบใด ฐานสไลเดอร์จะใช้อะไร 


 

กระบวนการทำต่อมาก็เป็นการจัดทำ ตามแบบ มีการตัดต่อหลอด ใช้เทปใสเป็นตัวเชื่อม มีการทำไปทดลองไป เพื่อให้วัตถุนั้นไหลลงมาได้ช้าที่สุด ทั้งการทำทำให้มีผิวขรุขระ ลดความชันของสไลเดอร์ เพื่อไม่ให้มีแรงส่งวัตถุ



ต่อไปเป็นขั้นตอนของการทดลอง โดยอาจารย์ให้นำ สไลเดอร์ของทุกกลุ่ม มาวางเรียงหน้าห้อง โดยให้มีการทดลองสไลเดอร์แต่ละกลุ่มและมีการจับเวลา ว่าของกลุ่มไหนจะสไลเดอร์ได้นานที่สุด ซึ่งแต่ละสไลเดอร์ก็มีความแตกต่างกันไปตามการออกแบบ มีทั้ง สูงมาก มีความโค้ง มีตัวสไลเดอร์เป็นเทปใส


ผลสรุปของการทดสอบปรากฎว่ากลุ่มดิฉันสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนตัวอยู่บนสไลเดอร์ไดนานที่สุด เกิดจากการออกแบบที่คำนึงการไหลของวัตถุว่า หากวัตถุอยู่บนที่สูงจะทำให้เคลื่อนตัวไหลลงมาเร็ว แต่หากทำให้ตัวสไลเดอร์ไม่สูงมาก และมีความยาว ก็จะทำให้วัตถุอยู่บนสไลเดอร์ได้นาน



จากการทำกิจกรรมนี้ เป็นการเรียนรู้แบบ STEM  S ก็คือเรื่องของการเคลื่อนที่ของวัตถุ T คือ อุปกรณ์นั่นคือหลอดและเทปใส E คือการออกแบบตัวสไลเดอร์โดยใช้เกณฑ์ ให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ช้าที่สุด M คือ จำนวนหลอดที่ใช้ ทั้งหมด 25 หลอด


ประเมินอาจารย์
    อาจารย์มีกิจกรรมง่ายๆที่สามารถทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับSTEM ได้โดยไม่ต้องนั่งเปิดตำรา เป็นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ นอกจากนี้ยังให้ความสนุกสนานกับนักศึกษา โดยมีการจัดทดสอบว่าของกลุ่มไหน จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้นานกว่า เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาต้องคิดวิธีการและกระบวนการเพิ่มขึ้นไปอีก

ประเมินตัวเอง
    จากการทำกิจกรรมวันนี้ ทำให้ตัวเองรู้ว่าจะทำอะไรควรมีการวางแผน เพราะถ้าทำไปก่อนแบบไม่มีแผนอาจทำให้งานนั้นๆสำเร็จได้ช้า และได้รู้จักการรับฟังความคิดเห็นและยอมรับเสียงข้างมาก และกิจกรรมของอาจารย์สามารถนำไปปรับใช้เพื่อจัดกิจกรรมให้เด็กได้











  บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่7 5/10/63

อาจารย์ให้รวมกลุ่ม เพื่อจัดทำวิดีโอการสอนตามหน่วยต่างๆ จึงไม่ได้เข้าในชั้นเรียน แต่เป็นการจัดทำกระบวนการการทำงานด้วยตนเองแล้วมานำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

  บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่6 28/09/63

สำหรับสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอ การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งดิฉันก็ได้สรุปให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นและง่ายต่อการจำดังนี้

1.  การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป  สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน  การปฏิบัติ และการทบทวน ( plan-do-review cycle ) เมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจ  จุดสำคัญอยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้ ( Key  experience ) ที่เด็กควรได้รับระหว่างกิจกรรม  ซึ่งครูต้องมีปฏิสัมพันธ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมให้มากที่สุด

        การเรียนการสอนทุกรูปแบบต่างก็ส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้  แต่สิ่งที่มุ่งหวังให้เด็กได้รับอย่างน้อยต้องส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญา เพื่อการเรียนรู้ที่ดีและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้มีความคิดอิสระสร้างสรรค์  ริเริ่ม  ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ
            ครู คือบุคคลที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  หากรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องภาวะการเรียนรู้ของเด็กและครูมีความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอน ก็จะเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น

2.การสอนแบบโครงงานเป็นการสอนเรื่องที่เด็กสนใจทั้งในแนวกว้างและแนวลุ่มลึกเรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
  • วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ 
    • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ 
    • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
    • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น 
    • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน 


3. การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยมีครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน และเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้เสรีภาพแก่เด็ก ให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ใช้จิตใจซึมซับสิ่งแวดล้อม โดยครูคำนึง ถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของเด็กและยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย การจัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง เพราะมอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กคือ ผู้รู้ความต้องการของตนเองและมีความสามารถที่จะซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมได้ หลักสูตรของมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กวัย 3-6 ขวบ ครอบคลุมการศึกษา 3 ด้านคือ ด้านทักษะกลไก (Motor Education) ด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) ด้านการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation For Writing and Arithmetic) 

4.ารจัดการศึกษาแนววอลดอร์ฟเป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยการพัฒนากาย (Body) จิต (Soul) และจิตวิญญาณ (Spirit)ให้บรรลุถึง ความดี (Good) ความงาม (Beauty) ความจริง (Truth) เรียนรู้ที่จะเข้าใจ “เด็กตามธรรมชาติ” (Natural Childhood) และต้องใส่ใจในการเตรียมสิ่งแวดล้อม สถานที่ อาคาร ห้องเรียน บริเวณสวน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่นที่เด็กเล่น ให้เด็กสามารถเชื่อมโยงที่มาที่ไปในธรรมชาติได้ 


บทบาทครู ( 3 R ) ได้แก่
  1. การทำซ้ำ (Repetition) เพื่อให้เกิดมั่นคง ครูควรทำกิจกรรมการเรียนการสอนและงานบ้านต่างๆอย่างสม่ำเสมอ หรือเรียกว่าการทำซ้ำ
  2. จังหวะ (Rhythm) เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยเด็ก ครูควรจัดตารางประจำวัน ตารางกิจกรรมในสัปดาห์ และเทศกาลประจำปี ให้สอดคล้องกับจังหวะที่ราบรื่นแบบลมหายใจเข้าและออก ให้ตารางของช่วงนั้นๆเหมาะสมลื่นไหล ไม่อัดแน่นหรือติดขัด หรือเรียกว่า การรักษาจังหวะ หรือ ความรู้สึกแบบท่วงทำนอง
  3. เคารพ (Reverence) ด้วยความตระหนักรู้ที่ว่า “มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” ทำให้เราอยู่ในโลกด้วยความรู้สึกกตัญญูและเคารพต่อธรรมชาติ ทั้งยังเคารพต่อศักยภาพของความเป็นมนุษย์
5.การจัดการเรียนการเรียนรู้แบบสะเต็ม STEM คือการผนวกแนวคิดการออกแบบเชิงวิศวกรรมเข้ากับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ของผู้เรียน กล่าวคือ ในขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และฝึกทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้มาออกแบบวิธีการหรือกระบวนการเพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน  ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอน ได้แก่

1.ระบุปัญหา (Problem Identification)

2.รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search)

3.ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design)

4.วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development)

5.ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement)

6.นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation)


6.การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะเป็นวิธีการที่ให้ผู้เรียนค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ และมีผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยการความสะดวก ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ในการหาความรู้ ซึ่งผู้เรียนต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ
 
          1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) หมายถึง ขั้นตอนการหาความรู้โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออบแบบการทดลอง และทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปผล
 
          2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) ซึ่งหมายถึง ทักษะการคิด ทั้งทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นผสมที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง

  ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5E ดังนี้
1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement)
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration)
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation)
4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration)
 5. ขั้นประเมิน (evaluation)




ประเมินอาจารย์
    อาจารย์มีการขยายเพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ให้อิสสระในการทำกิจกรรมและคอยแนะนำให้กิจกรรมมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ประเมินตัวเอง
    มีการเตรียมความพร้อมในส่วนของเนื้อหา แต่ยังขาดสื่อ และวิธีการดึงดูดความสนใจ ต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนาต่อไป

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

  บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่5 21/09/63

สัปดาห์นี้ อาจารย์ ให้ระดมความคิด การเขียนกิจกรรม นั่นคือ กิจกรรม กลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา

กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เล่นทั้งในร่มและที่แจ้ง และมีบริเวณสะดวกปลอดภัยและสะอาดเหมาะสมกับการเล่น  กิจกรรมกลางแจ้งที่จัดให้กับเด็ก  ได้แก่  การเล่นทราย  การ
เล่นน้ำ  การเล่นเครื่องเล่นสนาม  การเล่นสมมุติในบ้านตุ๊กตา    การเล่นในมุมช่างไม้  การเล่นเกม
การละเล่น  เป็นต้น  การเล่นเกมมีความหมายสำหรับเด็ก ครูต้องสาธิต อธิบายกติกา ดูแลความ
ปลอดภัย  ไม่เน้นการแข่งขัน การแพ้  ชนะ   คุณค่าของการเล่นกลางแจ้ง หรือการละเล่น จะช่วย
ให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อ  สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว  และต่อเนื่อง  นอกจากนั้น
ยังฝึกความมีระเบียบวินัย  ความเชื่อมั่นในตนเอง  การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น   และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

หน่วยการเรียนรู้ หน่วยของดิฉัน คือหน่วยผีเสื้อ มีกิจกรรม กลางแจ้งดังนี้

วันจันทร์

กิจกรรมผีเสื้อเก็บดอกไม้

วิธี

1.แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม

2.แจกหมวกผีเสื้อให้เด็กใส่

3.ให้สัญญาณนกหวีด โดยให้เด็กบินท่าผีเสื้อไปเก็บดอกไม้ในตระกร้าที่มีของอย่างอื่นปนอยู่

4.กลุ่มไหนเก็บดอกไม้ได้มากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ

วันอังคาร

ผีเสื้อรอดอุโมงค์

วิธี

1.ให้เด็กเข้าแถวตอนลึก

2.ขอตัวแทน 1คน มายืนทำเป็นอุโมงค์

3.ครูวางกรวย5  อัน ก่อนถึงอุโมงค์

4.เด็กแต่ละคนทำท่ายืนเหมือนผีเสื้อ บินซิกแซกผ่านกรวยเพื่อรอดอุโมงค์

5.เมื่อรอดอุโมงค์แล้วให้เด็กนั่งลง

วันพุธ

ลำเลียงไข่ผีเสื้อ

วิธี

1.แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม 

2.แจกช้อนให้หัวหน้าแถว พร้อมกับแจกลูกปิงปอง

3.ให้เด็กส่งต่อลูกปิงปองไปให้ถึงคนสุดท้าย กลุ่มไหนส่งลูกปิงปองจนถึงคนสุดท้ายให้นั่งลง

วันพฤหัส

ผีเสื้อประคองไข่

วิธี

1.แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม

2.ให้เด็กๆเข้าแถวตอนลึก

3.แจกลูกบอลให้เด็กทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 1 ลูก

4.ครูให้สัญญาณนกหวีด เด็กๆต้องประคองไข่ไว้ โดยการใช้เข่าหนีบ ส่งต่อให้เพื่อนจนครบทุกคน

5.กลุ่มไหนส่งไข่ครบให้นั่งลง และเป็นผู้ชนะ

วันศุกร์

หนอนผีเสื้อ

วิธี

1.แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม

2.แจกผ้าห่มให้เด็ก เล่นคล้ายวิ่งเปรี้ยว

3.เด็กวิ่งอ้อมหลัก แล้วเปลี่ยนให้เพื่อนคนถัดไป จนครบ

4.กลุ่มไหนวิ่งจนครบแล้ว ให้ทำท่าผีเสื้อบินเพื่อเป็นสัญญาณว่าวิ่งครบแล้ว



 จากนั้นอาจารย์ก็ให้ระดมความคิดในการคิดเกมการศึกษา  ซึ่งกิจกรรมเกมการศึกษา หมายถึง กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ มีดังนี้

1.จับคู่

เพื่อให้เด็กได้ฝึกสิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นการเปรียบเทียบภาพต่างๆ แล้วจัดเป็นคู่ๆ ตามจุดมุ่งหมายของเกมแต่ละชุดของเกมจับคู่ประกอบด้วย

1.1 เกมจับคู่ที่เหมือนกันหรือสิ่งเดียวกัน

1.1.1 จับคู่ที่เหมือนกันทุกประการ

1.1.2 จับภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน

1.1.3 จับภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน

1.1.4 จับภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก

1.2 เกมจับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน

1.3 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน

1.4 เกมจับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงข้าม

1.5 เกมจับคู่ภาพเต็มกับภาพที่แยกส่วน

1.6 เกมจับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป

1.7 เกมจับคู่ภาพที่ซับซ้อน

1.8 เกมจับคู่ภาพที่สมมาตรกัน

1.9 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กันแบบอุปมา – อุปมัย

1.10 เกมจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน

1.11 เกมจับคู่ภาพที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน

1.12 เกมจับคู่แบบอนุกรม

 

2. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)

3. การวางภาพต่อปลาย (Domino)

3.1 เกมโดมิโนภาพเหมือน

3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์

3.3 เกมโดมิโนผสม 5

4. การเรียงลำดับ

4.1 เกมเรียงลำดับขนาด

4.2 เกมเรียงลำดับหมู่ของภาพ

5. การจัดหมวดหมู่

5.1 เกมการจัดหมวดหมู่ของวัสดุ

5.2 เกมการจัดหมวดหมู่ของภาพ

5.3 เกมการจัดหมวดหมู่ของรายละเอียดของภาพ

5.4 เกมการจัดหมวดหมู่ภาพกับสัญลักษณ์

6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)

7. การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์

8. พื้นฐานการบวก

9. การทำความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด

มีกิจกรรมเกมการศึกษาดังนี้

วันจันทร์ Coding Butterfly 

วันอังคาร จับคู่ภาพอนุกรม

วันพุธ  เกมเรียงลำดับภาพวงจรชีวิตผีเสื้อ (เชื่อมต่อความสัมพันธ์)

วันพฤหัส เกมจับคู่ภาพกับจำนวน

วันศุกร์  โดมิโน วงจรผีเสื้อ




ประเมินอาจารย์
    ในการทำกิจกรรมอาจารย์จะคอยให้คำแนะนำ และชี้แจงทีละกิจกรรมว่า คืออะไรและมีอะไรบ้าง กระตุ้นให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและมีความเชื่อมโยงกัน

ประเมินตัวเอง
การคิดกิจกรรมทำให้มีไอเดียใหม่เพิ่มขึ้น และอยากจะลงมือทำกิจกรรมนั้นๆ แต่ก็มีความยากตรงที่กิจกรรมนั้นควรมีความเชื่อมดยงกับหน่วยที่สอนและเกิดประโยชน์กับตัวเด็ก

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้4

 บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่4 14/09/63

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอกิจกรรมศิลปะที่จะนำไปไว้ใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัย โดยได้รวบรวมมาดังนี้

1.สัตว์สองอารมณ์


2.แหวนผีเสื้อ



3.ผีเสื้อหลากสี


4.ใบหน้าหลากอารมณ์


5.ไข่จ๊ะเอ๋


6.โมบายผีเสื้อ


7.กำไลผีเสื้อ


8.ฝ่ามือแปรงร่าง


9.ปักตามรอย


10.ตัด ตก แต่ง

นอกจากนี้อาจารย์ยังให้คำแนะนำว่า ในการเลือกกิจกรรมควรเป็นกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ และเหมาะสมกับวัยของเด็ก ตามแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยอาจารย์ก็ให้คิดกิจกรรมศิลปะที่เป็นงานประดิษฐ์โดยบูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย โดยคิดเป็นกิจกรรรมหน่วยของตน 1 กิจกรรมและ งานประดิษฐ์ อย่างอื่น 2 กิจกรรม

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์มักให้คำแนะนำ และข้อคำถามในการกระตุ้นความคิดวเคราะห์ตามว่ากิจกรรมที่นำมานั้นสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้หรือไม่อย่างไร

ประเมินตัวเอง
   มีการเสาะแสวงหาข้อมูลมากขึ้น และมีความวิเคราะห์กิจกรรมที่ละเอียดมากขึ้นในการนำเสนอ                 


วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

 บันทึกการเรียนรู้

สัปดาห์ที่ 3 31/08/63

ทักษะ EF (Executive Functions) คืออะไรในเด็กเล็ก ?


ทักษะ EF คือ กระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการในชีวิตเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งรู้จักริเริ่มลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน

EF สำคัญอย่างไร

ฐานของทักษะEF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการรู้จักตัวเลขหรือตัวหนังสือ เมื่อเด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF ทั้งตัวเด็กเองและสังคมได้รับประโยชน์ จะช่วยสร้างพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง และครอบครัว หากเด็กมีทักษะ EFs เขาจะมีความสามารถในการคิด

  • มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ
  •  รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้ และจัดการกับกระบวนการทำงาน จนเสร็จทันตามกำหนด
  •  นำสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนในประสบการณ์มาใช้ในการทำงานหรือกิจกรรมใหม่ได้
  • สามารถปรับเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อเงื่อนไขหรือสถานการณ์เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดตายตัว จนถึงขั้นมีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้
  •  รู้จักประเมินตนเอง นำจุดบกพร่องมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นได้ 
  •  รู้จักยับยั้งควบคุมตนเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมแม้จะมีสิ่งยั่วยวน
  •  รู้จักแสดงออกในครอบครัวในห้องเรียน กับเพื่อน หรือในสังคมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การรู้จักเคารพผู้อื่น อยู่กับคนอื่นได้ดี ไม่มีปัญหา
  • เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น มีความมุ่งมั่นพร้อมความรับผิดชอบที่จะไปสู่ความสำเร็จ

 

เด็กแบบนี้อย่างนี้มิใช่หรือ ที่พ่อแม่ ครู และสังคมต้องการ เด็กอย่างนี้มิใช่หรือ ที่จะนำพาสังคมและประเทศชาติให้อยู่รอดได้ในโลกที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เด็กอย่างนี้มิใช่หรือที่จะไม่สร้างปัญหายาเสพติดให้พ่อแม่ ครอบครัวและสังคมให้ยุ่งยากเดือดร้อนต่อไป

shutterstock_388835323สำหรับกลุ่มทักษะ EF ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน

 1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ เด็กที่มี Working Memory ดี IQ ก็จะดีด้วย

2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน “รถที่ขาดเบรก” อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้

3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว

4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง

5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า

6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง

7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา

9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ

มีงานวิจัยมากมาย ระบุว่าเด็กที่มี EF ดี จะมีความพร้อมทางการเรียนมากกว่า และประสบความสำเร็จในด้านการเรียนทุกระดับ จนกระทั่งในการทำงาน ช่วยวัย 3 – 6 ชวบจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF

 

เทคนิคในการสร้าง EF นั้น เริ่มจากการเลือกของเล่นให้ลูกเล่น ทำให้เขาคิดอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างของเล่น เช่น

  • ตัวต่อบล็อกไม้
  • เลโก้
  • หมากฮอส
  • หมากรุก
  • จิ๊กซอว์ แบบง่าย ๆ
  • ของเล่นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และมีรูให้หลอดลงในช่อง

ของเล่นเหล่านี้ เป็นการพัฒนาความคิดของเด็ก หรือแม้แต่การทำงานบ้าน อาจจะเตรียมผ้าแห้งเขาเขาเล่นเช็ดตู้ เช็ดพื้น หรือไม้กวาดให้เขาได้กวาดบ้าน เป็นการฝึกความรับผิดชอบ รวมถึง การอ่านหนังสือให้ฟังทุกคืน ยิ่งพ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังมากเท่าไหร่ เด็กก็จะมีทักษะเรื่องการอ่าน (รวมถึงรักการอ่านด้วย) รวมถึงการเขียน ฝึกให้มีเชาวน์ปัญญาดี

อีกเทคนิคคือ ไม่ให้เด็กเครียด คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสภาวะแวดล้อมที่ไม่กดดัน สร้างความเป็นมิตร เมื่อเด็กน้อยรู้สึก Happy ก็จะรู้สึกสบายใจ และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นของเล่นที่บ้าน เกิดความกล้าคิดกล้าทำในสิ่งต่าง ๆ

    และนี่ก็คือ EF ที่คนเป็นครูปฐมวัยไม่รู้ไม่ได้ เพราะเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเด็ก นอกจากนี้ยังมีเพลง สัั้นๆที่ช่วยให้จำง่ายว่า ทักษะต่างๆมีจุดเน้นอะไร เช่น
เพลงทักษะพื้นฐาน
                                                                                                                                     แต่งโดย
ดร.จินตนา สุขสำราญ

ทักษะ ทักษะพื้นฐาน             เรื่องราวเล่าขานความจำเพื่อใช้งาน
ตรึกตรองชั่งใจนานนาน (ซ้ำ)     ยืดหยุ่นสำราญคิดนอกกรอบเอย(ซ้ำ)

ทักษะกำกับตนเอง
                                                                                                                                        แต่งโดย
ดร.จินตนา สุขสำราญ

จดจ่อ สมาธิมั่น                      ควบคุมนั้นหนาอารมณ์ตนเอง
ทบทวน ทบทวนโดยพลัน(ซ้ำ)  อย่าหุนหันปรับแก้ให้ดี(ซ้ำ)

ทักษะปฏิบัติ
                                                                                                                                      แต่งโดย
ดร.จินตนา สุขสำรา
คิดแล้วต้องลงมือ              วางแผนนั้นหรือเพื่อดำเนินการ
พากเพียร พากเพียรจนนชำนาญ(ซ้ำ)    สุข...สราญบรรลุเป้าไปเลย(ซ้ำ)

จากนั้นก็เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบเพลง โดยอาจารย์กำหนดเพลงให้และให้แบ่งเป็นกลุ่มคิดท่าแล้วนำเสนอ โดยท่าที่จะใช้สอนเด็กควรเป็นท่าไม่ยาก และไม่เยอะจนเกินไป ฟังดนตรีให้เข้าจังหวะ โดยกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะนั้นสามารถจัดซ้ำได้เพียงแต่เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวก็จะสามารถจัดกิจกรรมได้กลากหลาย และควรมีลีลาท่าทางของแต่ละคนเพื่อไม่ให้กิจกรรมนั้นดูน่าเบื่อ


ประเมินอาจารย์
    มีการให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของ     EF พร้อมทั้งให้เพลงที่ช่วยให้สามารถจำเนื้อหายาวๆได้ และมีกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดความคิดและการจัดการอย่างเป็นระบบอีกด้วย

ประเมินตัวเอง
    มีความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องของทักษะ    EF และมีความคิดที่เป็นกระบวนการมากขึ้นในการจะจัดกิจกรรม